การศึกษาศิลปะการแสดงของตะวันตก (Western
Performing Arts)
สามารถ แบ่ง การแสดงเป็น
๒ประเภท ไดแก การเตนรํา (Dance)
และการแสดงละคร (Theatre) โดยธรรมชาติการแสดงสองประเภทนี้มีความแตกตางกันคอนขางชัดเจน
กลาวคือ ละครจะมี “บท” หรือ “เรื่อง” เปนตัวกำหนดทิศทางการแสดง ดังนั้นการแสดงละครจึง มุงเนนสื่อสาร ‘เรื่องราว’
ในขณะที่การเตนรํามีจุดมุ่งหมายในการสรางสุนทรียภาพแกผูชม
ทั้งในดานความงามของลีลาท่าทาง เสื้อผาเครื่องประดับ
ความไพเราะของดนตรี รวมถึงความอลังการ ของฉาก
จึงอาจกลาวไดวาละครใหความสําคัญกับการ “ดูเอาเรื่อง”
ขณะที่การเตนรำมุง ความสำคัญไปที่การ “ดูเอารส”
ขณะเดียวกันไมอาจกล่าวสรุปไดวา การเตนรําของตะวันตกไมสื่อสารเรื่องราว
หรือแสดงเป็นละคร ทั้งนี้มีการเตนรำบางประเภทที่มีการนําเสนออย่างเปนเรื่องเป็นราวเช่นเดียวกับละคร
คือ การแสดงบัลเลต (ballet) ที่มีลักษณะเป็นการเตนเล่าเรื่อง
(Dance Story) ขณะที่ละครบางกลุมนิยมใชการเตนเป็นสวนประกอบสําคัญเพื่อสร้างสุนทรียรสในการดําเนินเรื่องดวยเช่น ละครเพลง (Musical Theatre)
เห็นได้ว่าทั้งการเตนรําและละครตางมีองคประกอบรวมกันอยู่
ไดแก การออกแบบฉาก แสง เสื้อผ้า การใชดนตรีหรือเพลง รวมถึงการแสดง
สรุปได้ว่าศิลปะการแสดงละครและการเต้นรำของตะวันตกมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดมีองค์ประกอบร่วมกันและไม่สามารถแยกออกจากกันได้เด็ดขาดเราจึงควรศึกษาการแสดงทั้งสองประเภทไปควบคู่กัน
การเต้นรำ (Dance)
คือศิลปะที่แสดงโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
ที่ใช้การเคลื่อนไหวเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นท่าทางที่ประดิษฐ์ขึ้นให้มีรูปแบบและโครงสร้างที่ชัดเจน การเต้นรำจะแสดงประกอบดนตรีหรือเครื่องให้จังหวะ
แม่ว่าการเต้นรำจะถูกนำออกแสดงเพื่องานสังคม, พิธีกรรม, งานรื่นเริงสังสรรค์,หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดก็ตาม
การเต้นรำก็ยังมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกภายในออกมาในรูปแบบการเคลื่อนไหวที่งดงามในแง่ศิลปะการแสดง
ประเภทของการเต้นรำ
บัลเล่ต์ (Ballet) หรือระบำปลายเท้า คือการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ
ของร่างกายที่ใช้การถ่วงดุลน้ำหนัก และการสร้างรูปทรงของร่างกายให้งดงาม
โดยเคลื่อนไหวไปตามจังหวะดนตรีบัลเล่ต์อาจแสดงเป็นเรื่องราว หรือเป็นการแสดงชุดสั้นๆ
ไม่เป็นเรื่องราว ก็ได้ หากแสดงเป็นเรื่องราว จะตัดบทสนทนาหรือบทพากย์ออกไป ใช้ดนตรีประกอบแทน
จึงมีลักษณะเป็นละครใบ้แบบเต้น (Dance Pantomime) ประเภทหนึ่ง ดนตรีจึงนับเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการแสดงที่จะแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ต่างๆ
ของเรื่อง เช่น อารมณ์เศร้า อารมณ์อ่อนหวาน อารมณ์รุนแรง ฯลฯ ดนตรียังทำหน้าที่ดำเนินเรื่องแทนการใช้บทสนทนาหรือบทพากย์ด้วย
เรื่องที่นำมาแสดงได้แก่ สวอนเลค (Swan Lake) เจ้าหญิงนิทรา
นัทแครกเกร์อ ฯลฯ
การแต่งกายในการแสดงบัลเล่ต์โดยทั่วไปนิยมใช้สีขาวหรือสีต่างๆ
หญิงสวมกระโปรงซ้อนฟูสั้นเรียกว่าทูทู (tutu) เสื้อไม่มีแขนรัดรูป
ชายสวมกางเกงรัดรูปเพื่อโชว์กล้ามเนื้อ การแต่งกายจะเน้นความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว
ปัจจุบันมีการปรับการแต่งกายให้มีความงดงามเหมาะกับเรื่องราวที่แสดง
แต่งยังคงเน้นการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่วเช่นเดิม
ฺBallet หรือระบำปลายเท้าของตะวันตก
Ballet เมื่อนำเสนอเป็นเรื่องราว
การเต้นสมัยใหม่ หรือ
โมเดิร์นดานซ์ (Modern Dance) หรือ “การเต้นร่วมสมัย” (Contemporary
Dance) เป็นรูปแบบการเต้นที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
ได้รับการพัฒนาจากนักเต้นสมัยใหม่ที่ต่อต้านรูปแบบการเต้นที่เคร่งครัดของบัลเล่ต์
การเต้นสมัยใหม่จะให้ความสำคัญกับการแสดงความรู้สึกนึกคิดของผู้แสดง โดยไม่คำนึงถึงท่าทางมาตรฐานของบัลเล่ต์
จึงเป็นการแสดงออกถึงความเป็นลักษณะเฉพาะบุคคลได้อย่างชัดเจน
การเต้นร่วมสมัย หรือ contemporary
หรือ modrendance สามารถเต้นสื่อเป็นเรื่องราวได้ เช่นเดียวกัน
การเต้นลีลาศ
(Social Dance) คือการเต้นรำเข้าจังหวะของชาวตะวันตกที่นิยมเต้นเป็นคู่
ปัจจุบันการเต้นลีลาศนับเป็นศิลปะสากลที่ทั่วโลกนิยมและยอมรับเข้าสู่ทุกวงการ
แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
ประเภทบอลล์รูม (Ballroom) เป็นการลีลาศที่ใช้จังหวะนิ่มนวล
สง่างาม ลำตัวจะตั้งตรงเป็นส่วนใหญ่ การก้าวเท้า
จะใช้การลากเท้าด้วยปลายเท้าไปกับพื้น มี ๕ จังหวะ ได้แก่ วอลทซ์ (Waltz), แทงโก้
(Tango), สโลว์
(Slow), ควิกเสตป
(Quick Step), และ
ควิกวอลทซ์ (Quick
Waltz)
ประเภทลาตินอเมริกัน (Latin American) เป็นการลีลาศจังหวะค่อนข้างเร็ว
เน้นความคล่องแคล่ว ส่วนใหญ่จะใช้ไหล่ เอว สะโพก เข่า และข้อเท้า
การก้าวเดินสามารถ ยกเท้าพ้นพื้นได้ มี ๑๒ จังหวะ ได้แก่ รุมบ้า (Rumba), บีกิน
(Beguine), ช่าช่าช่า
(Cha cha cha), กัวราช่า
(Guarracha), ร็อคแอนด์โรล
(Rock and roll), แซมบ้า
(Samba), แมมโบ้
(Mambo), ออฟบีท
(Off-beat), ตะลุงเทมโป้
(Taloong Tempo), ทวิสต์
(Twist), บาชังก้า
(Bachanga), และ โบเรโล่ (Borelo)
นอกจากนี้ การเต้นลีลาส
ยังมีความหมายรวมไปถึงการเต้นรำจังหวะใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นในยุคหลัง เช่น
จังหวะอะโกโก้ จังหวะดิสโก้ เป็นต้น
ระบำประยุกต์ประกอบดนตรี
(Musical Stage
Dance) เป็นการเต้นที่มีการผสมผสานการเต้นหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน
โดยส่วนใหญ่จะประยุกต์เอาลักษณะการเต้นของ แจสซ์, บัลเลต์, แท็ป และแม้แต่ ระบำชนเผ่า เข้าด้วยกัน
การเต้นประเภทนี้พบได้ในละครเพลงบรอดเวย์ (Broadway) ซึ่งเน้นที่ความสดใส
ความตระการตา ท่าเต้นจะประดิษฐ์ขึ้นอย่างหรูหรา งดงาม
เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับคนดูในวงกว้าง
ระบำชนเผ่า (Ethnic Dance) คือการเต้นของชนเผ่าต่างๆ
ในยุโรป อเมริกา รวมถึง อาฟริกา
ส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติ
หรือประเพณีทางสังคม
ทั้งนี้ในปัจจุบันมีข้อพึงสังเกตถึงความแตกต่างระหว่างการเต้นนันทนาการและการเต้นของชนเผ่า คือการเต้นนันทนาการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเต้น
แต่การเต้นชนเผ่ามักจะเป็นรูปแบบของการแสดงต่อหน้าผู้ชม
สรุป
วิชานาฏศิลป์ หรือศิลปะการแสดงนอกจากให้ประโยชน์ในด้านความบันเทิง
ผ่อนคลายสำหรับมนุษย์ในสังคม ยังเป็นการเรียนรู้เพื่อเข้าใจในความเป็นตัวตน
หรือเอกลักษณ์ทุกด้านของมนุษย์แต่ละสังคม แต่ละเชื้อชาติ ที่ต่างมีวิถีชีวิต
ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม ภาษา ศาสนา ที่แตกต่าง หรือคล้ายคลึงกัน
รวมทั้งอิทธิพลที่มนุษย์มีต่อกันในทุกแง่มุม
การศึกษามนุษย์โดยผ่านศิลปะการแสดงจึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะเข้าใจรากฐานทางวัฒนธรรมทุกด้าน
เข้าใจพฤติกรรมการแสดงออกของมนุษย์แต่ละสังคมเป็นอย่างดี การอนุรักษ์ สืบทอด
เผยแพร่ และสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ ส่งเสริม
สนับสนุน เพื่อให้ศิลปะการแสดง เป็นสิ่งสะท้อนความเป็นไปของสังคม หรือรากเหง้าของมนุษย์
ตลอดจนวิวัฒนาการด้านต่าง ๆ ของมนุษย์และสังคมตลอดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น