วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บทที่ ๑ ศิลปะการแสดง ๒

การนำเสนองานศิลปะการแสดง

                การนำเสนองานนาฏศิลป์ หรือศิลปะการแสดงผู้สร้างงานอาจมีการนำเสนองานได้ ๒ ลักษณะ ดังนี้

๑.     ศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิม(Classic) นิยมแสดงตามรูปแบบที่มีการนำเสนอมานาน จึงสะท้อนความเป็น
เอกลักษณ์ของแต่ละชาติไม่ว่าจะเป็นลักษณะการเคลื่อนไหว การแต่งกาย ดนตรีและวิธีการนำเสนอ


                                    
 โขนเรื่องรามเกียรติ์ชุดศึกมัยราพณ์ โดยมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ การแสดงแบบดั้งเดิมไทย

                                                       



                              
                                 การแสดงBallet เรื่อง Nutcracker แสดงที่ Mariinsky Theatre เมื่อปี ๒๐๑๐ 
                                            ศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิมของตะวันตก


๒. ศิลปะการแสดงแบบร่วมสมัย(Contemporary) เป็นการแสดงที่มีรูปแบบการเคลื่อนไหวที่สร้างสรรค์ขึ้นจากจินตนาการของผู้สร้างหรือผู้แสดง โดยท่าทางที่แสดงออกไม่ยึดรูปแบบที่เคร่งครัดตามการเคลื่อนไหวแบบดั้งเดิม นิยมสร้างสรรค์ให้เหมาะสมตามยุคสมัยและความนิยมของผู้ชม ซึ่งในความเป็นร่วมสมัยอาจแสดงออกมาจากท่าทางการเคลื่อนไหวของผู้แสดง บทเพลงประกอบ การแต่งกาย เป็นต้น



                                  การแสดงชุดสักกะเทวราช ผลงานนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
                                              สร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย




การเต้นร่วมสมัยของตะวันตก

     การสร้างสรรค์ และนำเสนอศิลปะการแสดง นิยมสร้างสรรค์และนำเสนอในรูปแบบ ๒ ลักษณะ ดังกล่าว ในขณะที่นิยามคำว่าศิลปะการแสดงจะมีความหมายเกี่ยวข้อง และหมายรวมถึง ดรงละคร ภาพเคลื่อนไหว การละคร การแสดงตลก เต้นรำ ละครเพลง มายากล ขบวนแห่ การแสดงคอนเสริต เพราะต้องอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะการแสดง มาเป็นองคืประกอบหลักในการสร้างสรรค์ และนำเสนอ เช่น มีการออกแบบท่าทางการเคลื่อนไหว การใช้พื้นที่บนเวที ออกแบบการแต่งกาย แต่งหน้า การจัดฉากประกอบ การใช้เทคนิคแสง สี ดนตรี เป็นต้น เพื่อให้ภาพที่ปรากฏ มีความงดงาม สมจริง ทำให้ผู้ชมเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย คล้อยตาม และเห็นคุณค่าได้

                                           อ่านต่อศิลปะการแสดง ๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น